วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

GREEN MOVIES : มนต์ฮักแดนลำดวน



โครงการรังสรรค์ภาพยนตร์ Green Movies
เรื่อง “มนต์ฮักแดนลำดวน” (Lamduan Land of Love)
*************************
. สภาพปัจจุบัน/ปัญหา
โลกร้อน คนเป็นหนี้ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ชีวิตไม่พอเพียง
๒. แนวคิด หลักการ และเหตุผล
“ภาพยนตร์ศรีสะเกษ โดยชาวศรีสะเกษ เพื่อชาวไทยและชาวโลก”
๓.วัตถุประสงค์
๓.๑) สืบสานตำนานคนสร้างป่า (ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ) และสายแนนเคือหูกหมวดวิชัย สุริยุทธ (ศรีสะเกษ)
๓.๒) เพื่อเผยแพร่อัตตลักษณ์ “แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม” ของจังหวัดศรีสะเกษ สู่สาธารณะและสากล
๓.๓) เพื่อสะท้อนปัญหาและเสนอแนะแนวทางลดปัญหาโลกร้อน คนเป็นหนี้ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ชีวิตไม่พอเพียง  ของสังคมชนบทในจังหวัดศรีสะเกษ
๓.๔) เพื่อหารายได้ก่อตั้งมูลนิธิ “ธรรมาชน คนสร้างป่า” เพื่อเป็นทุนดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อม ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิชชาลัยธรรมชาติ
๓.๕) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสำนึกพลเมือง และประชาธิปไตยชุมชน
๔. เป้าหมาย
๔.๑) ผู้ชมเกิดสำนึกที่ดี มีผลการปฏิบัติเป็นที่ประจักษ์
๔.๒) ตำนานคนสร้างป่า (ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ) ได้รับสืบสาน
๔.๓) ปัญหาโลกร้อน คนเป็นหนี้ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ชีวิตไม่พอเพียง ของชาวชนบทจังหวัดศรีสะเกษเบาบางลง
. ประเด็นหลัก (Theme) ของเรื่อง
“มนุษย์เปรียบเหมือนต้นไม้ เติบโตและหยัดยืนอยู่ได้ด้วยรากเหง้า”
๖. เค้าโครงภาพยนตร์ (จากเค้าโครงเรื่องจริงในประสบการณ์การทำงานของมหาวิชชาลัยธรรมชาติ)
องก์ที่ ๑ บัณฑิตหนุ่มลูกชาวนาชาวศรีสะเกษวัย ๒๔ ปี สังกัดวงคณะลำซิ่งคณะหนึ่ง ชีวิตความเป็นเกษตรกรและศิลปินลูกทุ่งหมอลำบ้านนาของเขาและครอบครัว รวมทั้งญาติมิตรต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สิน ภัยแล้ง สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ชีวิตไม่พอเพียง ที่นับวันเขม็งเกลียวขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งพวกเขาหาทางออกไม่พบ หาคำตอบไม่ได้
องก์ที่ ๒ กระทั่งเขาได้รู้จักกับ “มหาวิชชาลัยธรรมชาติ” และเหล่าบรรดาปราชญ์ชาวบ้านหัวใจอาสา ที่ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้เพื่อต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน คนเป็นหนี้ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ชีวิตไม่พอเพียง ของสังคมชนบทจังหวัดศรีสะเกษ กระทั่งตกผลึกเป็นองค์ความรู้ “นาป่าและกสิกรรมกูลเกื้อ เพื่อสังคมเกื้อกูล” โดยใช้ต้นไม้และจิตใจอันเกื้อกูลกันเป็นเครื่องมือ เขาจึงได้รู้จักรากเหง้าของตัวเอง และได้เรียนรู้ตำนานคนสร้างป่า, การสร้างสัมมาชีพกสิกรรมและอาชีพต่อเนื่อง บนพื้นฐานของของระบบนิเวศน์ที่ดี และประชาธิปไตยชุมชนแบบ”ผู้ให้” ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นความหมายแท้ของประชาธิปไตยกินได้อย่างประจักษ์แจ้ง
องก์ที่ ๓ เขาจึงนำพาครอบครัวและญาติมิตรดำเนินชีวิตสืบสานสายแนนเคือหูกลูกอีสาน ตามแนวทางของมหาวิชชาลัยธรรมชาติ จนพวกเขาสามารถแก้ปัญหาทั้งหมดได้อย่างเบ็ดเสร็จ
๗. องค์กรอำนวยการสร้าง
๑) สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า
๒) สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ
๓) สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
๔) สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดศรีสะเกษ
๕. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ
๖) สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ
๗) องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
๘) หอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ
๙) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาศรีสะเกษ
๑๐) ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดศรีสะเกษ สถาบันพระปกเกล้า
๑๑) คณะกรรมการประสานงานการพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ (คปศ.)
๑๒) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท)
๑๓) เหล่ากาชาดจังหวัดศรีสะเกษ
๑๔) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดศรีสะเกษ
ฯลฯ
๘. คณะที่ปรึกษา
๘.๑) ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
- นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
- นางวรรณิภา สุวรรณสุจริต นายอำเภอวังหิน
๘.๒) ที่ปรึกษาโครงการ
- ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ
๘.๓) ที่ปรึกษาภาพยนตร์
- นายสุรสีห์ ผาธรรม
๙.๔) ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโครงการ
- ส.ว.ศรีสุข รุ่งวิสัย
- นายวิทยา วิรารัตน์
- ดร.ปรีดีย์ โชติช่วง
- นายสน รูปสูง
- นายทิวา รุ้งแก้ว
- นายสุพรรณ สาคร
- ดร.บัญชร แก้วส่อง
- ดร.ชำนาญ แก้วคะตา
- ดร.สมปอง วิมาโร
- พ.ต.อ.ภุชงค์ วรรณา
- นายตรี โพธิ์กระสังข์
- นายทองจันทร์ ศรีสุธรรม
- ส.จ.สุพล ดวนสูง
- ฯลฯ
๙. คณะกรรมการบริหารโครงการ
๙.๑) นายอุดมการณ์ บัวเกษ               ประธานกรรมการ
๙.๒) นายฉัตรชัย ไชยโยธา                รองประธานกรรมการ
๙.๓) ประพันธ์ เวียงสมุทร                 กรรมการ
๙.๔) นายพลทรา สิงห์แก้ว                กรรมการ
๙.๕) นายมหรรณพ ต้นวงษา              กรรมการ
๙.๖) นายคม ทัพแสง                      กรรมการ
๙.๗) นายระยับ ดวงศรี                    กรรมการ
๙.๘) นายขวัญชิต โพธิ์กระสัง              กรรมการ
๙.๙) นายจรัญพิทย์ แวะสีภา              กรรมการ
๙.๑๐) นายปิยะวุฒิ พรมประดิษฐ         กรรมการและเลขานุการ
๙.๑๑) นายเชิดศักดิ์ ชาญชิต               กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑
๙.๑๒) นางสาวสุจิตรา บุษบา             กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๙. ผู้กำกับภาพยนตร์
- นายขวัญชิต โพธิ์กระสังข์ และคณะ
๑๐. สร้างเรื่องและเขียนบท
ทีมงานศิลปินอิสระและคุณาจารย์มหาวิชชาลัยธรรมชาติ (นายประพันธ์ เวียงสมุทร นายอุดมการณ์ บัวเกษ, นายปิยะวุฒิ พรมประดิษฐ, ฯลฯ)
๑๑. โปรดิวส์เซอร์เพลงประกอบภาพยนตร์
- นายคม ทัพแสง
๑๒. ฝ่ายบทภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศ (Sub titles)
- ดร.ชำนาญ แก้วคะตา
- นางสาวสุจิตรา บุษบา
- นายจรัลพิทย์ แวะศรีภา

๑๓. รูปแบบ ลักษณะเฉพาะ ขั้นตอนดำเนินการ
๑๓.๑)   คณะกรรมการบริหาร ตลอดถึงสมาชิกของมหาวิชชาลัยธรรมชาติ (มวธ) และผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ร่วมพิจารณากำหนดกรอบ เป้าหมาย และองค์ประกอบอื่นๆของนวัตกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งภาพยนตร์เพลงเบาสมองที่มีเนื้อหาสาระเพื่อสังคมสันติสุข บนพื้นฐานของสัมมาชีพและสิ่งแวดล้อมที่ดี ชั้นคุณภาพสู่สากล
๑๓.๒)   คณะทำงานที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรังสรรค์เค้าโครงเรื่อง ตลอดถึงองค์ประกอบต่างๆของนวัตกรรมตามกรอบเนื้อหาที่กำหนด
๑๓.๓)   เมื่อได้ผลงานตามข้อ ๒) แล้ว ให้คณะทำงานที่ได้รับมอบหมาย ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดหาแหล่งทุนสนับสนุน
๑๓.๔)   เมื่อได้รับการสนับสนุนทุนตามข้อ ๓) แล้ว ให้ดำเนินงานตามกระบวนการว่าด้วยการทำพันธะสัญญาและข้อตกลง (MOU) ระหว่างองค์กรผู้ให้และรับการสนับสนุนต่อไป
๑๓.๕)   เมื่อได้นวัตกรรมตามเป้าหมายในข้อ ๑) แล้ว ให้ทดลองใช้ ปรับปรุง และเผยแพร่นวัตกรรมสู่กลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางที่สุด
๑๓.๖)   วัดและประเมินผลหลังการเผยแพร่นวัตกรรมอย่างเป็นกระบวนการเชิงงานวิจัย (การเปลี่ยนแปลงทางด้านทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายและบุคคลทั่วไป)
๑๓.๗)   สรุปผลการดำเนินการในรูปของเอกสารและรายงานต่อผู้เกี่ยวข้องเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด
๑๔. ระยะเวลาดำเนินงาน
๑) สิงหาคม – กันยายน ๒๕๕๔       - เรียบเรียงเรื่องและบทภาพยนตร์
๒) ตุลาคม ๒๕๕๔                      - เตรียมงานสร้าง (Pre Production)
๓) พฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๕๔    - ถ่ายทำ (Production)
๔) มกราคม ๒๕๕๕                     - ตัดต่อภาพ, เสียง. Effect, Music, เทคนิคต่างๆ (Post Production)
๕) กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕                  - ผลิตสื่อ, DVD, VCD
๖) วันศุกร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๕        - จัดฉายรอบปฐมทัศน์โลก เนื่องในวันเปิดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน ของจังหวัดศรีสะเกษ และพร้อมจำหน่าย DVD, VCD เพื่อหารายได้เข้ามูลนิธิฯ ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ
๑๕. งบประมาณและทรัพยากรบุคคลที่ต้องการ
๑๕.๑) งบประมาณ  จำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านบาท) โดยขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน และองค์กรภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง
๑๕.๒) ทรัพยากรบุคคล
๒.๑) ผู้กำกับภาพยนตร์ นักประพันธ์เพลง ศิลปินนักร้อง-นักแสดงรับเชิญ
๒.๒) ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน นักแสดงชาวบ้าน
๒.๓) นักจัดรายการวิทยุ ผู้บริหารสถานีวิทยุ เจ้าของธุรกิจโรงภาพยนตร์ (ประชาสัมพันธ์และนำเสนอ)
๒.๔) ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งในระบบและตามอัธยาศัย
๒.๕) เกษตรกรและบุคลากรภาคประชาสังคมอื่นๆ
๑๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๖.๑)   ผู้ชมเกิดสำนึกรักษ์บ้านเกิด รักษ์-จรรโลงและสร้างสรรค์สังคม-สัมมาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทั่งนำสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและวิธีปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
๑๖.๒)   เกิดกระแสสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายสาธารณะของรัฐ หน่วยงาน องค์กรภาคส่วนต่างๆ ที่เอื้อต่อกระบวนการของภาคประชาชนในข้อ ๑) อย่างเป็นรูปธรรม


ผู้เสนอโครงการ


( นายอุดมการณ์   บัวเกษ )
สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง          

      ผู้เห็นชอบโครงการ                               ผู้เห็นชอบโครงการ

(นางวรรนิภา สุวรรณสุจริต)                           (ดร.ปรีดีย์ โชติช่วง)
                                 นายอำเภอวังหิน                    รองเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง

      ผู้เห็นชอบโครงการ                               ผู้เห็นชอบโครงการ

(ร.ต.ต.วิชัย  สุริยุทธ)                             (นายสุรสีห์  ผาธรรม)
                                  ที่ปรึกษาอาวุโส                               ที่ปรึกษากิติมศักดิ์


     ผู้อนุมัติโครงการ                                        ผู้อนุมัติโครงการ
 

                   ( นายสุจิต  บุญบงการ )                               ( นายสมศักดิ์  สุวรรณสุจริต )              
                 ประธานสภาพัฒนาการเมือง                               ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้ประสานงานโครงการ
๑) นายอุดมการณ์ บัวเกษ โทร. ๐๘๖-๘๗๘๓๙๓๒       ๒) นายปิยะวุฒิ พรมประดิษฐ โทร. ๐๘๕-๖๘๒๕๘๓๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็น